การท่องเที่ยวกับการถ่ายภาพเป็นสิ่งคู่กัน นอกจากจะเก็บภาพเป็นความทรงจำแล้ว ภาพถ่ายยังสามารถถ่ายทอดออกไปให้ผู้อื่นได้สัมผัสความประทับใจของคุณมากกว่าคำบอกเล่า สำหรับประเทศภูฏาน คุณสามารถเก็บภาพสวยๆ ได้จากหลากหลายสถานที่ที่คุณไปเยือน และในหลายเหตุการณ์ นอกจากธรรมชาติที่มีความงามตามฤดูกาลและเทศกาลที่เต็มไปด้วยสีสัน วัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนก็ล้วนมีเสน่ห์และน่าสนใจทีเดียว 5 ภาพที่ภูฏานเซ็นเตอร์อยากแนะนำให้ทุกท่านกดชัตเตอร์ทุกครั้งเมื่อมาเยือนภูฏาน ภาพที่ 1 สีสันสถาปัตยกรรมของภูฏาน ไม่ว่าที่ใดๆ ในโลก สถาปัตยกรรมของอาคารบ้านเรือนทำให้บรรยากาศรอบตัวคุณอบอวลไปด้วยกลิ่นอายของประเทศนั้น สถาปัตยกรรมภูฏานที่โดดเด่นคือป้อมปราการ หรือที่เรียกว่า “ซอง” เมื่อมาเที่ยวภูฏานหากไม่ได้ถ่ายรูปโดยมีป้อมปราการอันยิ่งใหญ่เป็นฉากหลัง เหมือนมาไม่ถึงภูฏาน บ้านเรือนของชาวภูฏานก็เช่นกัน รัฐบาลออกกฎหมายให้ก่อสร้างในรูปแบบภูฏานดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นสีที่ใช้ ลักษณะประตูหน้าต่าง ความสูงของอาคาร และลวดลาย ภาพที่ 2 จุดชมวิวเห็นทั่วอาณาจักรของภูฏาน จุดชมวิวซังเกกัง (SANGAY GANG VIEWPOINT) จุดชมวิวซังเกกังเป็นจุดชมวิวเมืองหลวงทิมพู ตั้งอยู่บนเนินเขาสูง เมื่อมองลงไป คุณจะเห็นภาพสิ่งก่อสร้างถูกล้อมรอบด้วยภูเขาเป็นเหมือนอาณาจักรเล็กๆ ที่ซ่อนตัวอยู่ ด้วยกฎหมายของประเทศเรื่องการสร้างอาคารให้มีลักษณะความเป็นภูฏาน ลายขอบวงหน้าต่าง ลักษณะหลังคา สีสัน รวมไปถึงการกำหนดความสูงของตึก ไม่ให้สร้างตึกสูงที่บดบังทัศนียภาพ ทำให้วิวของเมืองต่างๆ แม้แต่เมืองหลวง เมื่อมองจากมุมสูง มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ของภูฏานจริงๆ เมื่อรวมกับภูเขาที่อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ และท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยอากาศบริสุทธิ์ บางทีคุณอาจจะอยากนั่งที่จุดชมวิวนี้และทอดสายตาไปยาวๆ ทั้งวันเลยก็ได้ จุดชมวิวโดชูล่าพาส (Dochula Pass) แน่นอนว่าเมื่อไปถึงจุดนั้น คุณจะได้พบกับภาพเบื้องหน้าที่ตื่นตา ซึ่งจัดมาให้นักท่องเที่ยวถ่ายภาพโดยเฉพาะ สิ่งที่นักท่องเที่ยวรอคอยจะได้พบเมื่อมายังดินแดนแห่งนี้ คือ หิมาลัย และโดชูล่าพาสไม่ทำให้ผิดหวัง ที่นี่ตั้งอยู่สูง 3,150 เมตรจากระดับน้ำทะเล โดยปกติจะมีกลุ่มเมฆสีขาวปกคลุม บนเนินสูงสุดมีสถูปทรงสี่เหลี่ยมหลังคาครอบแบบภูฏาน สถูปขนาดใหญ่อยู่บนสุด และมี 108 สถูปอยู่ล้อมรอบ เรียกว่า สถูปแห่งชัยชนะ ที่นี่เป็นอนุสรณ์รำลึกถึงทหารที่เสียชีวิตในสงครามระหว่างภูฏานกับกลุ่มกบฏอินเดียเมื่อปี 2003 สร้างขึ้นโดยเชื่อว่าจะช่วยปกป้องคุ้มครองผู้ที่เดินทางผ่านไปมาให้ปลอดภัย รอบๆ บริเวณจุดชมวิว ประดับด้วยธงมนต์หลากสีเพื่อบูชาเทพเจ้าแห่งป่าเขาให้ปัดเป่าความชั่วร้าย ที่นี่ยังเป็นจุดพักสำหรับผู้เดินทางไปเมืองพูนาคา โดยมีร้านคาเฟ่บริการกาแฟร้อนๆ ด้วย จุดชมวิวชีเลล่าพาส (Chele La Pass) เป็นหนึ่งจุดชมวิวสูงที่สุดของ เมืองฮา (Haa) ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ ในหุบเขาทางตะวันตกเฉียงใต้ที่อยู่ถัดจากเมืองพาโร ถูกโอบล้อมด้วยเทือกเขาสูงและปกคลุมเต็มไปด้วยป่าไม้ จุดชมวิวนี้อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลเกือบ 4,000 เมตร ที่นี่จะทำให้คุณได้กดชัตเตอร์เพลินจนลืมเวลาเลยทีเดียว กุหลาบพันปีและฝูงจามรีเป็นอีกหนึ่งความน่าสนใจที่คุณจะพบได้จากชีเลล่าพาส ภาพที่ 3 นกกระเรียนคอดำและแหล่งอาศัย ช่างภาพที่ชื่นชอบการถ่ายภาพสัตว์ หรือนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการชมสัตว์ป่า ประเทศภูฏานเป็นประเทศที่อุดมด้วยธรรมชาติบริสุทธิ์ มีความสมบูรณ์เพียงพอที่จะเป็นแหล่งที่อยู่หรือแหล่งอพยพของเหล่าสัตว์น้อยใหญ่ และสัตว์บางชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์ ในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี นกกระเรียนคอดำจะอพยพจากทิเบตมายังหุบเขาผอบจิกะของภูฏาน นกกระเรียนหายากเป็นสิ่งดึงดูดให้ช่างภาพจากทั่วโลกอยากจะได้มาชมนกกระเรียนท่ามกลางหุบเขาอันสวยงาม นอกจากจะได้ถ่ายภาพนกแล้ว นกกระเรียนคอดำยังมีความสำคัญกับดินแดนแห่งนี้มาตั้งแต่สมัยอดีต จึงมีเทศกาลนกกระเรียนคอดำ การร่ายรำ เฉลิมฉลอง ซึ่งเป็นโอกาสที่จะได้ถ่ายภาพวัฒนธรรมเหล่านี้อีกด้วย ภาพที่ 4 เทศกาลระบำหน้ากากที่สืบทอดมาช้านาน สำหรับผู้รักการถ่ายภาพ สีสันตระการตา ศิลปะบนหน้ากากที่เป็นเอกลักษณ์ ท่วงท่าการร่ายรำ บรรยากาศแห่งวัฒนธรรม ช่วงเวลารอยยิ้มและเสียงหัวเราะของผู้คน คือความน่าสนใจที่ช่างภาพต่างตื่นเต้นที่จะได้เก็บภาพวินาทีเหล่านั้น เทศกาลระบำหน้ากากเซชูเป็นความพิเศษของดินแดนลับแลแห่งนี้ ถ้าท่านได้เข้าร่วมสักครั้งจะพบว่ามีช่างภาพมาจากทั่วโลกพร้อมกับกล้องและเลนส์คู่ใจ แม้คุณจะไม่ใช่ช่างภาพมืออาชีพ ภาพถ่ายที่ได้จากเทศกาลระบำหน้ากากจะทำให้คุณจดจำประสบการณ์ที่อัศจรรย์ และเชื่อว่าใครๆ จะต้องประทับใจกับภาพถ่ายของคุณ ภาพที่ 5 บรรยากาศแห่งวัฒนธรรมภูฏาน สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพผู้คน ชาวภูฏานเป็นมิตรกับนักท่องเที่ยวมาก ถ้าคุณหยิบกล้องตัวโปรดขึ้นมาแล้วมองพวกเขาผ่านเลนส์ของคุณ รับรองว่าจะต้องได้รับรอยยิ้มกลับมาเป็นภาพสวยๆ อย่างแน่นอน โดยเฉพาะเด็กน้อยที่นั่น แก้มแดงระเรื่อเหมือนลูกมะเขือเทศแบบชาวหิมาลัยที่อาศัยอยู่ในภูมิประเทศอากาศหนาว เป็นที่ถูกใจช่างภาพและนักท่องเที่ยวเอามากๆ การดำเนินชีวิตของชาวภูฏานผูกพันกับธรรมชาติ และชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม อยู่กันอย่างพอเพียงและสมถะ คุณจะเห็นภาพชาวบ้านกำลังเก็บเกี่ยวข้าว เลี้ยงสัตว์ หรือไม่ก็สวดมนต์ หมุนกงล้อมนตรา กราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์ ศาสนาพุทธแทรกซึมอยู่ตลอดในชีวิตประจำวันของพวกเขา ภาพถ่ายผู้คน วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของชาวภูฏานจะสะท้อนศรัทธาในศาสนาและวิถีธรรมชาติได้เป็นอย่างดี ถ้าคุณอยากได้ภาพถ่ายแนวนี้ ประเทศภูฏานก็เป็นอีกดินแดนหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับการมาท่องเที่ยวและถ่ายภาพทีเดียว
0 Comments
ก่อนจะเดินทางไปต่างประเทศสิ่งสำคัญนั่นคือการเตรียมความพร้อมไว้ก่อน เพื่อจะได้ไม่ลืมของสำคัญและเดินทางได้อย่างสบายใจ เราจะมา Check List 10 Items ที่ไม่ควรลืมเมื่อไปเที่ยวต่างประเทศกันว่ามีอะไรบ้าง
และนี่คือ 10 Items ที่ควรเตรียมพร้อมเมื่อไปต่างประเทศ ถ้าคุณ Check List ครบทั้งหมดแล้วก็เตรียมพร้อมออกเดินทางอย่างสบายใจได้เลย
ในปี2020 ประเทศภูฏานนั้นได้ขึ้นเป็นอันดับ1 จากการจัดอันดับ “10 จุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวชั้นนำของโลกและประเทศที่ให้ประสบการณ์การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน” ประจำปี 2563 โดย Lonely Planet ประเทศภูฏานเป็นสถานที่หนึ่งจะสามารถทำให้เราพบหนทางแห่งความสุขได้ แม้ว่าจะอยู่เพียงระยะสั้นๆ ไม่ถึงสัปดาห์ก็สามารถเติมเต็มความรู้สึกและความผ่อนคลายได้ ซึ่งสถานที่แห่งนั้นต้องประกอบด้วยความลงตัวในหลายๆ ด้านอย่างธรรมชาติที่โอบล้อมไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ อากาศที่บริสุทธิ์ วัฒนธรรมที่สามารถสัมผัสจับต้องได้ วิถีชีวิตที่เรียบง่าย และช่วงเวลาที่เหมาะสมในการไปเยือน ประเทศภูฏาน เป็นหนึ่งในสถานที่ที่นักท่องเที่ยวอีกหลายๆ คนตัดสินใจเดินทางมาเยือน เพื่อสัมผัสกับความสุขและใช้เวลาผ่อนคลายกับการชมความอุดมสมบูรณ์แหล่งธรรมชาติที่โอบล้อมไปด้วยเทือกเขาหิมาลัย วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่มีการสืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น และเสน่ห์ของวิถีชีวิตที่เรียบง่ายแบบดั้งเดิม อีกทั้งยังสามารถเดินทางได้ตลอดทั้งปีอีกด้วย สิ่งเหล่านี้ยังคงดึงดูดให้ทุกมุมโลกมาค้นหาและพิสูจน์ในดินแดนแห่งความสุขของภูฏานแห่งนี้ สายการบินภูฏานแอร์ไลน์ ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประเทศภูฏานที่น่าสนใจไว้ใน E-Book เล่มใหม่ที่มีชื่อว่า Bhutan guide to 2020 วิถีการไปสัมผัสภูฏาน สู่หนทางแห่งความสุข ซึ่งใน E- book จะอธิบายตั้งแต่การเดินทาง เมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ เรื่องเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ และสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นไฮไลท์ที่น่าสนใจ เพื่อให้ผู้ที่สนใจให้ทุกท่านได้ดาวน์โหลดเก็บไว้อ่านได้ตามที่คุณต้องการ E-book ที่ควรค่าสำหรับผู้ที่สนใจประเทศภูฏานโดยเฉพาะ
|
1. ชม GOLDEN LIGHT ที่ภูฏาน | ในช่วงเวลาที่สวยงามที่สุดในภูฏาน คือ ฤดูใบไม้ร่วง ทั้งเมืองจะกลายเป็นสีเหลืองทองสวยงามมาก ไม่ว่าจะเป็น คันนา รวงขาว ต้นไม้ ใบหญ้าทั้งแผ่นผืนล้วนพร้อมใจกันเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง มองแล้วสบายตาทำให้คลายความเครียดได้ดีเลยทีเดียว อากาศและอุณหภูมิในฤดูใบไม้ร่วงอยู่ที่ประมาณ 5 - 23 องศาเซลเซียส ซึ่งอยู่ในช่วงเดือนกันยายน - พฤศจิกายน หากคุณเป็นผู้ที่ชื่นชอบในบรรยากาศที่โอบล้อมด้วยธรรมชาติ ซึมซับความผ่อนคลาย และรักการถ่ายภาพ เตรียมตัวและอุปกรณ์ของท่านให้ดี ไม่ควรพลาดแม้แต่ชั่วพริบตาเดียวกับช่วงเวลา GOLDEN TIME ที่เหมือนราวกับภาพวาดในทุ่งหญ้ารวงข้าวสีทอง หากใครอยากได้ภาพสวยๆ เราขอแนะนำให้เดินทางไปที่ วัดชิมิลาคัง เมืองพูนาคา ระหว่างทางเดินไปที่วัดจะผ่านทุ่งหญ้าที่เต็มไปด้วยสีเหลืองทองวิวสวยมาก เดินชิลๆ ถ่ายรูปสวยๆ สูดอากาศบริสุทธิ์ให้เต็มปอด สัมผัสลมเบาๆ ท่ามกลางธรรมชาติ ซึมซับวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของชาวภูฏานที่อาจจะได้เห็นตลอดการเดินทาง |
2. ฤดูแห่งการเก็บเกี่ยวของชาวภูฏาน | ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง เป็นช่วงที่ชาวภูฏานก็จะทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะ "ข้าว" ซึ่งข้าวของประเทศภูฏานยังเป็นสินค้าที่มีการส่งออกไปขายยังประเทศอเมริกาอีกด้วย หากพูดถึง “ข้าวภูฏาน” มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ คือ เป็นข้าวไม่ขัดสีและมีขนาดเม็ดมีความเรียวสวยงาม ถ้ามีโอกาสไปเที่ยวภูฏานสามารถซื้อกลับมาเป็นของฝากได้ในราคาไม่แพง |
3. เทศกาลทิมพูเซชู | ในช่วงเดือนตุลาคมของปี 2019 ยังมีเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบปีให้ชมอีกด้วย คือ เทศกาลทิมพูเซชู หรือ เทศกาลระบำหน้ากาก ที่จัดขึ้นที่เมืองทิมพู ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศภูฏาน โดยผู้แสดงในเทศกาลระบำหน้ากากนี้ คือ “พระ และ ฆราวาส” ของประเทศภูฏาน การแสดงนี้เป็นการเล่าเรื่องด้วยการร่ายรำ และใช้บทสวดมนต์ คำสอนและบทความปรัชญาในคัมภีร์พระไตรปิฎก โดยใช้การร้องออกมาเป็นเพลงประกอบการแสดง อีกหนึ่งการแสดงในเทศกาลทิมพูเซซูที่เป็นศูนย์กลางความสนใจ เป็นที่เคารพสักการะและตื่นตาตื่นใจไปพร้อมกันคือ การแสดงผ้าทังก้า หรือที่รู้จักกันว่า การแสดงผ้าพระบฏ เล่าเรื่องราวทางพุทธศาสนา ความเชื่อ และประวัติศาสตร์ของชาวภูฏานที่สืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน ในการจัดเทศกาลเกิดขึ้นในอีกหลายๆ เมืองอย่าง เมืองพาโร และเมืองพูนาคา เป็นต้น ซึ่งมีการเวียนเปลี่ยนตามวันและฤดูกาลที่แตกต่างกันไป หากต้องการเดินทางมาเที่ยวชมควรเช็คตารางเทศกาลให้ดี เพราะในแต่ละปีอาจมีขยับช่วงวันและเดือนที่จัดได้ |
เทศกาลประจำปีของประเทศภูฏานที่โดดเด่น คือ เทศกาลระบำหน้ากาก ซึ่งนำแสดงโดยพระสงฆ์และฆราวาส เทศกาลระบำหน้ากากจะจัดขึ้นที่ “ซอง” (Dzong) หรือป้อมปราการในแต่ละเมือง โดยเทศกาลระบำหน้ากากถือว่าเป็นเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ และถือเป็นวันหยุดราชการของประเทศภูฏานอีกด้วย ซึ่งไฮไลท์ของเทศกาลระบำหน้ากากอยู่ที่พระสงฆ์และฆราวาสเป็นผู้นำแสดง โดยเป็นการแสดงที่ถ่ายทอดเกี่ยวกับเรื่องราวทางศาสนาผ่านทางการร่ายรำ ชาวภูฏานจะมาเข้าร่วมฟังเทศน์ฟังธรรมกันเป็นจำนวนมาก ชุดที่สวมใส่ในการแสดงจะเป็นชุดที่มีสีเหลืองสดถักทอด้วยผ้าไหมและผู้แสดงจะต้องสวมหน้ากากเวลาร่ายรำ หากใครได้มาเที่ยวภูฏานในช่วงเทศกาลระบำหน้ากากนี้ ถือได้ว่าเป็นการมาเที่ยวที่คุ้มค่าเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในเทศกาลที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากที่่สุดอีกด้วย
เทศกาลระบำหน้ากาก ทิมพู เซชู (THIMPHU TSHECHU)
ทิมพู เซชู เป็นเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเทศกาลหนึ่งของประเทศภูฏาน จัดขึ้นเป็นเวลา 3 วัน ณ ลานป้อมปราการตาชิโชซอง เมืองหลวงทิมพู ในวันที่ 10 เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติ โดยจะอยู่ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง มีชาวเมืองทิมพูและชาวเมืองใกล้เคียงเข้าร่วมงานกว่าพันคน ที่จริงแล้วแต่เดิมนั้นเป็นพิธีกรรมทางศาสนาอย่างหนึ่งที่ภาวนาขอพรจากเทพเจ้า เทศกาลทิมพู เซชู ริเริ่มขึ้นเมื่อปี 1867 มีชุดการแสดงเพียง 2-3 ชุด และแสดงโดยพระ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อปี 1950 โดยสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ดอร์จิ วังชุก กษัตริย์รัชกาลที่ 3 ทรงนำระบำหน้ากากโดยพระสามเณรมาประยุกต์เข้ากับการแสดงแบบดั้งเดิมได้เป็นอย่างดี โดยเพิ่มสีสันและความหลากหลายให้การแสดงมากขึ้น และทำให้ผู้ชมเกิดความสนุกสนาน เพราะมีลักษณะคล้ายคลึงกับละครเวที จะเป็นการเล่าเรื่องด้วยการร่ายรำ และใช้บทสวดมนต์ คำสอน บทความปรัชญาในคัมภีร์พระไตรปิฎกร้องออกมาเป็นเพลงประกอบการแสดง อีกหนึ่งการแสดงในเทศกาลทิมพูเซซู ที่เป็นศูนย์กลางความสนใจเป็นอย่างดี และนับเป็นที่เคารพสักการะ และตื่นตาตื่นใจไปพร้อมกันคือ การแสดงผ้าทังก้า หรือที่รู้จักกันว่า การแสดงผ้าพระบฏ เล่าเรื่องราวทางพุทธศาสนา ความเชื่อ และประวัติศาสตร์ของชาวภูฏานที่สืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน
ตัวละครที่สำคัญตัวหนึ่งในเทศกาลทิมพู เซชู คือ ตัวตลกอัทสารา (Atsaras) ตัวละครตัวนี้เป็นมากกว่าตัวตลกธรรมดา แต่เชื่อว่าเป็นเสมือนผู้ปกป้องสิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้ามาทำลายงานเทศกาล ในปัจจุบันตัวตลกอัทสาราจะทำการแสดงสั้นๆ เรื่องการอยู่ร่วมกันในสังคมและเรื่องสุขภาพให้แก่ผู้ชม
ทิมพู เซชู เป็นเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเทศกาลหนึ่งของประเทศภูฏาน จัดขึ้นเป็นเวลา 3 วัน ณ ลานป้อมปราการตาชิโชซอง เมืองหลวงทิมพู ในวันที่ 10 เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติ โดยจะอยู่ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง มีชาวเมืองทิมพูและชาวเมืองใกล้เคียงเข้าร่วมงานกว่าพันคน ที่จริงแล้วแต่เดิมนั้นเป็นพิธีกรรมทางศาสนาอย่างหนึ่งที่ภาวนาขอพรจากเทพเจ้า เทศกาลทิมพู เซชู ริเริ่มขึ้นเมื่อปี 1867 มีชุดการแสดงเพียง 2-3 ชุด และแสดงโดยพระ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อปี 1950 โดยสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ดอร์จิ วังชุก กษัตริย์รัชกาลที่ 3 ทรงนำระบำหน้ากากโดยพระสามเณรมาประยุกต์เข้ากับการแสดงแบบดั้งเดิมได้เป็นอย่างดี โดยเพิ่มสีสันและความหลากหลายให้การแสดงมากขึ้น และทำให้ผู้ชมเกิดความสนุกสนาน เพราะมีลักษณะคล้ายคลึงกับละครเวที จะเป็นการเล่าเรื่องด้วยการร่ายรำ และใช้บทสวดมนต์ คำสอน บทความปรัชญาในคัมภีร์พระไตรปิฎกร้องออกมาเป็นเพลงประกอบการแสดง อีกหนึ่งการแสดงในเทศกาลทิมพูเซซู ที่เป็นศูนย์กลางความสนใจเป็นอย่างดี และนับเป็นที่เคารพสักการะ และตื่นตาตื่นใจไปพร้อมกันคือ การแสดงผ้าทังก้า หรือที่รู้จักกันว่า การแสดงผ้าพระบฏ เล่าเรื่องราวทางพุทธศาสนา ความเชื่อ และประวัติศาสตร์ของชาวภูฏานที่สืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน
ตัวละครที่สำคัญตัวหนึ่งในเทศกาลทิมพู เซชู คือ ตัวตลกอัทสารา (Atsaras) ตัวละครตัวนี้เป็นมากกว่าตัวตลกธรรมดา แต่เชื่อว่าเป็นเสมือนผู้ปกป้องสิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้ามาทำลายงานเทศกาล ในปัจจุบันตัวตลกอัทสาราจะทำการแสดงสั้นๆ เรื่องการอยู่ร่วมกันในสังคมและเรื่องสุขภาพให้แก่ผู้ชม
เทศกาลระบำหน้ากาก เมืองฮา (HAA TSHECHU)
จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในฤดูใบไม้ร่วงท่ามกลางหุบเขาฮา เป็นอีกหนึ่งเทศกาลสำคัญของภูฏาน ที่นำเสนอเอกลักษณ์ทางประเพณี วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวพื้นเมืองภูฏานได้อย่างดี สำหรับชาวภูฏานแล้ว เทศกาลระบำหน้ากากฮา ถูกเชื่อว่าเป็นการเฉลิมฉลองที่ยกระดับจิตวิญญาณ เต็มไปด้วยชีวิตชีวาและสีสัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องแต่งกายอย่างอลังการของผู้แสดงการร่ายรำ รวมถึงการแต่งกายชุดประจำชาติของชาวเมืองที่มาร่วมงาน เชื่อกันว่าการถ้าใครได้เข้าชมเทศกาลดังกล่าวจะได้รับบุญ ความโชคดี และนำพาความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ชีวิต
จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในฤดูใบไม้ร่วงท่ามกลางหุบเขาฮา เป็นอีกหนึ่งเทศกาลสำคัญของภูฏาน ที่นำเสนอเอกลักษณ์ทางประเพณี วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวพื้นเมืองภูฏานได้อย่างดี สำหรับชาวภูฏานแล้ว เทศกาลระบำหน้ากากฮา ถูกเชื่อว่าเป็นการเฉลิมฉลองที่ยกระดับจิตวิญญาณ เต็มไปด้วยชีวิตชีวาและสีสัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องแต่งกายอย่างอลังการของผู้แสดงการร่ายรำ รวมถึงการแต่งกายชุดประจำชาติของชาวเมืองที่มาร่วมงาน เชื่อกันว่าการถ้าใครได้เข้าชมเทศกาลดังกล่าวจะได้รับบุญ ความโชคดี และนำพาความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ชีวิต
เทศกาลระบำหน้ากาก พาโร เซชู (PARO TSHECHU)
เทศกาลสำคัญของเมืองพาโรซึ่งเต็มไปด้วยสีสันตระการตา หากคุณได้มาเที่ยวภูฏานในฤดูใบไม้ผลิ คุณจะได้ชมบรรยากาศน่าตื่นตาของเทศกาลระบำหน้ากากนี้ที่พาโรรินปุงซอง เมืองพาโร เทศกาลพาโร เซชูได้รับการนับถึอจากชาวเมืองพาโร และแม้แต่ชาวเมืองใกล้เคียงก็มาร่วมงานเทศกาล ในวันสุดท้ายของงาน พระจะขึงผ้าทังกาผืนใหญ่ มีภาพวาดเป็นเรื่องราวในพระพุทธศาสนา และนำพระพุทธรูปท่านคุรุรินโปเชที่เก็บรักษาอย่างดีในซองมาแสดงต่อชาวเมืองพาโร พระพุทธรูปท่านคุรุรินโปเชเป็นศิลปะพระพุทธรูปสำคัญที่สวยงามลึกซึ้ง ชาวเมืองเชื่อกันว่าการมีโอกาสได้เห็นและสวดมนตร์ต่อหน้าพระพุทธรูปท่านคุรุรินโปเชจะเป็นการชำระบาปได้
เทศกาลสำคัญของเมืองพาโรซึ่งเต็มไปด้วยสีสันตระการตา หากคุณได้มาเที่ยวภูฏานในฤดูใบไม้ผลิ คุณจะได้ชมบรรยากาศน่าตื่นตาของเทศกาลระบำหน้ากากนี้ที่พาโรรินปุงซอง เมืองพาโร เทศกาลพาโร เซชูได้รับการนับถึอจากชาวเมืองพาโร และแม้แต่ชาวเมืองใกล้เคียงก็มาร่วมงานเทศกาล ในวันสุดท้ายของงาน พระจะขึงผ้าทังกาผืนใหญ่ มีภาพวาดเป็นเรื่องราวในพระพุทธศาสนา และนำพระพุทธรูปท่านคุรุรินโปเชที่เก็บรักษาอย่างดีในซองมาแสดงต่อชาวเมืองพาโร พระพุทธรูปท่านคุรุรินโปเชเป็นศิลปะพระพุทธรูปสำคัญที่สวยงามลึกซึ้ง ชาวเมืองเชื่อกันว่าการมีโอกาสได้เห็นและสวดมนตร์ต่อหน้าพระพุทธรูปท่านคุรุรินโปเชจะเป็นการชำระบาปได้
เทศกาลระบำหน้ากาก พูนาคา เซชู (PUNAKHA TSHECHU)
จัดขึ้นที่พูนาคาซอง เมืองพูนาคา ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ การแสดงในเทศกาล พูนาคา เซชู นอกจากแสดงเกี่ยวกับพระธรรมคำสอน ยังมีการแสดงเรื่องราวที่เป็นประวัติศาสตร์ด้วยคือเรื่องราวเมื่อครั้งที่ท่านซับดรุง งาวัง นัมเกล เอาชนะข้าศึกทิเบตที่ยกกำลังมาบังคับให้ภูฏานมอบพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธองค์ที่เก็บรักษาอยู่ในพูนาคาซอง เพื่อเป็นการระลึกถึงวีรกรรมของท่านและถวายเครื่องบูชาพระแม่คงคา
จัดขึ้นที่พูนาคาซอง เมืองพูนาคา ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ การแสดงในเทศกาล พูนาคา เซชู นอกจากแสดงเกี่ยวกับพระธรรมคำสอน ยังมีการแสดงเรื่องราวที่เป็นประวัติศาสตร์ด้วยคือเรื่องราวเมื่อครั้งที่ท่านซับดรุง งาวัง นัมเกล เอาชนะข้าศึกทิเบตที่ยกกำลังมาบังคับให้ภูฏานมอบพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธองค์ที่เก็บรักษาอยู่ในพูนาคาซอง เพื่อเป็นการระลึกถึงวีรกรรมของท่านและถวายเครื่องบูชาพระแม่คงคา
สำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนภูฏานทุกท่าน ไฮไลท์สำคัญที่ทุกคนต้องมาสัมผัสในดินแดนแห่งมังกรแห่งนี้ วัดทักซัง หรือ เป็นที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า รังเสือ หรือ วัดถ้ำเสือ (Tiger’s Nest) ซึ่งเป็น 1 ในวัดที่สวยและศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในโลก ที่ตั้งอยู่บนหน้าผาสูง 900 เมตร มีทัศนียภาพที่น่าตื่นตาอย่างยิ่ง มาดู 7 เทคนิคในการเป็นผู้พิชิตวัดทักซังกัน
เทคนิคที่ 1 อยากเป็นผู้พิชิต ต้องจัดทริปไว้วันท้ายๆ
ไม่ว่าคุณอายุยังน้อยหรืออายุมาก พละกำลังทั้งร่างกายและจิตใจนั้นยังแข็งแรงเหลือล้น เราแนะนำว่า วัดทักซัง (Tiger’s Nest) จัดทริปไว้ช่วงวันท้ายๆ ก่อนกลับดีกว่าแน่นอน ในช่วงวันแรกๆ การเดินไปเที่ยวชมยังสถานที่ท่องเที่ยวตามโปรแกรมที่คุณจัดไว้ หรือซื้อแพ็คเกจจากบริษัททัวร์ที่เขาจัดโปรแกรมไว้ให้ ถือว่าเป็นการทดสอบกำลังขา กำลังกาย และกำลังใจที่ดีมากๆ วอร์มอัพเตรียมร่างกายให้ผู้พิชิตวัดทักซังทุกท่านได้ประเมินตัวเอง จับจังหวะการเดิน และการกำหนดลมหายใจก่อนถึงวันจริงที่ทุกท่านจะได้ใช้บททดสอบที่ได้ฝึกฝนมา เดินขึ้นไปพบกับความตระกานตาตั้งแต่วิวทิวทัศน์ระหว่างทางจนถึงยอดบนสุดของวัดทักซัง
เทคนิคที่ 2 เริ่มเดินตั้งแต่เช้านั้นได้เปรียบ
เริ่มก่อนได้เปรียบก่อน หากผู้พิชิตตื่นเช้า ข้อได้เปรียบนอกจากจะได้สัมผัสอากาศบริสุทธิ์ในยามเช้า แดดไม่ร้อนจนเกินไปแล้วนั้น นักท่องเที่ยวไม่หนาแน่นจนเกินไป ถ่ายภาพบรรยากาศรอบๆ ได้อย่างจุใจ โดยไม่มีใครมาบดบังวิวทิวทัศน์ของเรา มีเวลาเดินไม่ต้องเร่งรีบให้เหนื่อยกาย เก็บแรงไว้ กลับมาก่อนถึงเวลาช่วงเย็นได้ไปเดินเที่ยวต่อในเมืองได้สบาย
เทคนิคที่ 3 ทานอาหารให้เบาท้องที่สุด
สำหรับมื้อเช้าก่อนเดินทาง แนะนำว่า ทานอาหารที่ไม่ทำให้รู้สึกอิ่มจนเกินไป เพราะอาจจะทำเรารู้สึกจุกและเดินไม่ไหวได้ แม้ว่ากองทัพต้องเดินด้วยท้องก็ตาม ส่วนมื้อกลางวันนั้นไม่ต้องห่วง เพราะข้างบนมีร้านอาหารให้บริการ หากกลัวว่าระหว่างทางจะรู้สึกหิว แนะนำให้พกพวกขนมที่เป็นช็อคโกแลตบาร์ ซีเรียลบาร์ และลูกอม จะช่วยให้คลายความหิวระหว่างการเดินทางได้
เทคนิคที่ 4 ทำกระเป๋าให้เบาที่สุด
ของที่ไม่จำเป็นเอาออกไปให้หมด การทำให้กระเป๋าเบาที่สุด คือ ทางเดินแห่งสวรรค์ที่ดีที่สุดสำหรับผู้พิชิตวัดทักซัง นอกจากช่วยให้เดินอย่างสบายคล่องตัวแล้ว ยังทำให้เราไม่รู้สึกหนักจนหมดกำลังใจในการเดินขึ้นไประหว่างทางอีกด้วย สำหรับสิ่งของที่จำเป็นที่สุดที่ควรมีติดกระเป๋า คือ น้ำดื่ม ซึ่งช่วยดับกระหายน้ำได้ ด้วยการจิบน้ำทีละน้อยทุกๆ หนึ่งชั่วโมง จะทำให้ไม่เกิดอาการจุกแน่นท้อง และยังทำให้ปวดปัสสาวะน้อยลงได้ ส่วนยารักษาโรคและอุปกรณ์พยาบาลเบื้องต้น เช่น ยาดม ยาหม่อง ยานวดแก้เคล็ดขัดยอก ยาแก้ปวด ยาแก้ท้องเสีย ปลาสเตอร์ ยาใส่แผล แอลกอฮอล์ล้างแผล สำสี กรรไกร เป็นต้น หากทำเป็นชุดเล็กๆ พกติดตัวไปด้วยก็จะทำให้คุณอุ่นใจมากขึ้น
เทคนิคที่ 5 จังหวะการเดิน ของใครของมัน
จังหวะการเดินของผู้พิชิตแต่ละคนนั้นไม่มีวันที่จะเท่ากันอย่างแน่นอน บางคนก้าวเร็ว บางคนก้าวช้า หัวใจสำคัญของการเดิน นั่นคือ อย่านำจังหวะก้าวเดินของคนอื่นมาเปรียบเทียบกับเราเอง ให้มีสมาธิจดจ่อกับการเดินในจังหวะที่เป็นแบบของเรา แม้ว่าก้าวช้ากว่าคนอื่น แต่มีแรงก้าวเดินอยู่เรื่อยๆ ทุกก้าวเดินด้วยความปลอดภัย ไม่บาดเจ็บ ถึงจุดหมายตามที่ใจต้องการได้เหมือนกัน ส่วนรองเท้า ควรใส่แบบผ้าใบหุ้มส้นที่ใส่แล้วรู้สึกสบายเท้า เพื่อความกระชับระหว่างการเดินและป้องกันการบาดเจ็บได้เบื้องต้น
เทคนิคที่ 6 เกิดอาการเหนื่อย หายใจไม่ถนัด ขอให้หยุดพักแล้วเดินต่อ
ในช่วงแรก ควรจะเดินตามกำลังของร่างกาย รักษาจังหวะการเดินให้คงที่ ออมแรงไว้ให้ร่างกายได้ปรับตัวในทุกๆ ก้าวที่เราเดิน หากเราเริ่มฝืน พยายามเดินให้ทันกับผู้พิชิตท่านอื่น กลัวว่าจะอยู่รั้งท้าย นั้นเป็นสิ่งที่ผิดมากๆ เพราะยิ่งเร่งสปีดให้เร็วขึ้น ก็ยิ่งจะทำให้เราเหนื่อยมาก อาการต่อมาเริ่มหายใจไม่ถนัด และร่างกายปรับตัวไม่ทัน สุดท้ายก็เริ่มท้อแล้วไม่อยากเดินต่อ ข้อแนะนำให้กับผู้พิชิตที่ดีที่สุด คือ หากเริ่มรู้สึกเหนื่อย ให้ยืนพักให้หายเหนื่อยสักครู่ มีข้อแม้อย่างเดียวที่สำคัญ คือ ห้ามนั่งพักเด็ดขาด ในระหว่างที่ยืนพักให้สัมผัสลมหายใจที่กำลังเข้าและออก การเงยหน้าผ่อนลมหายใจเข้าและออกให้ยาวๆ ในจังหวะช้าๆ จากที่หายใจแรงจนเริ่มรู้สึกหายใจเป็นปกติดีขึ้น จิบน้ำแต่น้อยพอให้ร่างกายมีแรงขึ้นมาสักนิดก่อนที่จะเริ่มเตินต่อ
เทคนิคที่ 7 รวมกลุ่มเราอยู่ แยกกันเราห้ามถอย
หากผู้พิชิตไปกันเป็นกลุ่ม ถ้ามีคนในกลุ่มเหนื่อยจนเดินไม่ไหวให้เปลี่ยนคนที่เดินนำหน้ามาอยู่ในระดับเดียวกัน หรือให้คละคนที่เหนื่อยกับไม่เหนื่อยแยกเป็น 2 กลุ่ม เดินไปพร้อมๆ กัน จะทำให้ช่วงส่งแรงให้เดินตามจังหวะที่ใกล้เคียงกัน และลดความกดดันลงได้อย่างมาก ท่องไว้เสมอว่า เรามาเที่ยว เรามาสนุก และเราไม่ได้มาเดินแข่งกับใคร
“พุทธคยา” เชื่อว่าพุทธศาสนิกชนทั้งหลายคงรู้จักคุ้นเคยเป็นอย่างดี ด้วยเป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญที่สุด 1 ใน 4 สังเวชนียสถาน และถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวพุทธทั่วโลก เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของพระพุทธศาสนา เป็นสถานที่ที่เจ้าชาย สิทธัตถะได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเวลากว่า 2,500 ปีแล้ว
“พุทธคยา” สถานที่แห่งนี้เป็นศูนย์รวมของจุดหมายแสวงบุญของชาวพุทธผู้มีศรัทธาทั่วโลก ปัจจุบันพุทธคยามีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “วัดมหาโพธิ์” ตั้งอยู่ที่จังหวัดคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ห่างจากริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา 350 เมตร ในปัจจุบันพุทธคยาอยู่ในความดูแลของ คณะกรรมการร่วม พุทธ-ฮินดู และได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโก UNESCO ให้เป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2545
“พุทธคยา” สถานที่แห่งนี้เป็นศูนย์รวมของจุดหมายแสวงบุญของชาวพุทธผู้มีศรัทธาทั่วโลก ปัจจุบันพุทธคยามีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “วัดมหาโพธิ์” ตั้งอยู่ที่จังหวัดคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ห่างจากริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา 350 เมตร ในปัจจุบันพุทธคยาอยู่ในความดูแลของ คณะกรรมการร่วม พุทธ-ฮินดู และได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโก UNESCO ให้เป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2545
“พุทธคยา” เป็นสถานที่ตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมี “ต้นพระศรีมหาโพธิ์” เป็นต้นไม้แห่งการตรัสรู้ ณ ที่แห่งนี้รวมทั้งหมดมี 4 ต้น และทั้ง 4 ต้นนี้ได้เจริญเติบโตทดแทนกันมาเรื่อยๆ จากที่เดิม มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน นับเป็นอนุสรณ์สถานที่มีคุณค่าของชาวพุทธและมวลมนุษยชาติทั่วโลก
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ต้นที่ 1 เป็นต้นไม้คู่พระบารมีและเป็นสหชาติของพระโพธิสัตว์ เกิดขึ้นพร้อมกับวันที่พระโพธิสัตว์ประสูติ ตามพระพุทธประวัติกล่าวว่า สหชาติมี 7 ประการ (สัตตสหชาติ) คือ พระนางพิมพา, พระอานนท์พุทธอนุชา, นายฉันนะ, อำมาตย์กาฬุทายี, ม้ากัณฐกะ, ขุมทรัพย์ 4 มุมเมือง และต้นอัสสัตถพฤกษ์หรือต้นโพธิ์ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ต้นที่ 1 นี้ เป็นต้นที่พระพุทธเจ้าทรงประทับตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ พระองค์ได้รับการถวายหญ้ากุสะจำนวน 8 กำจากโสตถิยะพราหมณ์ เพื่อปูเป็นที่ประทับเมื่อใกล้รุ่งของวันเพ็ญ เดือน 6 จึงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระองค์ตรัสว่า ต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นต้นไม้แทนพระพุทธองค์ หากใครได้ไหว้ได้สักการะต้นพระศรีมหาโพธิ์ก็เท่ากับว่าได้ไหว้สักการะพระพุทธองค์ และหลังจากที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว มีผู้เลื่อมใสศรัทธามากราบไหว้ต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นจำนวนมาก ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภ์ ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมาก เช่น ทรงสร้างพระเจดีย์ถวายเป็นพุทธบูชาจำนวนถึง 84,000 องค์ ซึ่งทำให้พระเจ้าอโศกมหาราชไม่สนพระทัยในความสุขส่วนพระองค์เหมือนเช่นเคย เมื่อว่างเว้นจากราชกิจก็มาปฏิบัติธรรมใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ไม่กลับวังที่ประทับ จึงเป็นเหตุให้เหล่าพระมเหสีนางสนมทั้งหลายต่างพากันโกรธแค้นอิจฉาต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระมเหสีองค์ที่ 4 ของพระเจ้าอโศกมหาราช นามว่า มหิสุนทรี (พระนางติษยรักษิต) ได้รับสั่งให้นางข้าหลวงนำยาพิษและน้ำร้อนแอบไปรดที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์จนทำให้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ตายไปในที่สุด นับเป็นการล้มตายลงไปหลังสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จเข้าสู่ปรินิพพานล่วงไปแล้ว 200 ปี การล้มตายของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทำให้พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเสียพระทัยเป็นอันมาก ได้ทรงมีรับสั่งให้มหาดเล็กเอาน้ำนมโค 100 หม้อไปรดที่บริเวณรากของต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ล้มตายลงไปนั้นทุกวัน และทรงอธิษฐานพร้อมกับการสักการะก้มกราบ พระองค์ทรงมีพระราชปรารภว่า หากแม้ว่าต้นพระศรีมหาโพธิ์ไม่แตกหน่อขึ้นมาแล้วไซร้ จะไม่ยอมลุกขึ้นเป็นอันขาด ด้วยพุทธานุภาพและพระราชศรัทธาอันแรงกล้าแห่งพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นที่อัศจรรย์ต้นพระศรีมหาโพธิ์ภายหลังก็แตกหน่องอกขึ้นมาใหม่ จึงได้นับหน่อนี้เป็นต้นที่ ๒ และมีอายุยืนต่อมาอีกหลายร้อยปี พระเจ้าอโศกมหาราชทรงดีพระทัยเป็นอันมากจึงทรงมีรับสั่งให้ก่อกำแพงล้อมรอบไว้เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับต้นพระศรีมหาโพธิ์อีก
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ต้นที่ 2 ถือเป็นต้นที่แตกหน่อมาจากต้นแรก การที่พระเจ้าอโศกมหาราชได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วโลก จึงมีการนำต้นพระศรีมหาโพธิ์ไปปลูกในประเทศต่างๆ ด้วย เช่น พระโสณะเถระและพระอุตตรเถระ เดินทางไปยังดินแดนสุวรรณภูมิ และ พระมหินทเถระ พระนางสังฆมิตตาเถรี เดินทางไปยังประเทศศรีลังกา เป็นต้น โดยพระภิกษุและพระภิกษุณีเหล่านี้ได้นำต้นหรือกิ่งของต้นพระศรีมหาโพธิ์ไปด้วย
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ต้นที่ 2 ถูกทำลายจนล้มตายอีกครั้งในสมัย พระเจ้าปรณวรมา แคว้นมคธของพระองค์ได้ถูกรุกรานโดย พระเจ้าสาสังการ แห่งฮินดู จากแคว้นเบงกอล พระเจ้าสาสังการได้ทรงรับสั่งให้ตัดต้นและขุดราก ใช้ฟางอ้อยสุม ใช้น้ำมันราด และเผาต้นพระศรีมหาโพธิ์ซึ่งมีอายุราว 871-891 ปี จนล้มตาย 7วันหลังจากนั้น พระเจ้าสาสังการทรงอาเจียนเป็นพระโลหิต และสิ้นชีพตักษัยที่พุทธคยา ซึ่งพระเจ้าปรณวรมาเสด็จมาพอดี จึงตีทัพของเบงกอลแตกพ่ายไป และทรงให้ชาวบ้านรีดนมโค 1,000 ตัว เอาน้ำนมที่ได้เทราดบริเวณต้นโพธิ์ที่ถูกเผา พระเจ้าปรณวรมาทรงนอนคว่ำหน้าลงกับพื้น พร้อมอธิษฐานตามแบบพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งภายหลังต้นพระศรีมหาโพธิ์ก็แตกหน่องอกขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง จึงได้นับหน่อนี้เป็นต้นที่ 3
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ต้นที่ 3 ในปี พ.ศ.2418 นายพลโทเซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม (Sir Alexander Cunningham) ชาวอังกฤษ หัวหน้าคณะสำรวจพุทธสถานในช่วงอังกฤษปกครองประเทศอินเดีย ผู้ค้นพบสถานที่ตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เดินทางไปที่เมืองพุทธคยาเป็นครั้งที่ 2 พบว่า ต้นพระศรีมหาโพธิ์ทรุดโทรมมาก ประชาชนชาวฮินดูในบริเวณนั้นได้ตัดกิ่งก้านไปทำเชื้อเพลิง ครั้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2421-2423 ได้เกิดพายุใหญ่ เป็นเหตุให้ต้นพระศรีมหาโพธิ์เบียดกับพระเจดีย์พุทธคยา กระทั่งหักโค่นล้มลงไปทางทิศตะวันตกและล้มตายไปเอง ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ต้นที่ 3 นี้มีอายุยืนประมาณ 1258-1278 ปี
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ต้นที่ 2 ถูกทำลายจนล้มตายอีกครั้งในสมัย พระเจ้าปรณวรมา แคว้นมคธของพระองค์ได้ถูกรุกรานโดย พระเจ้าสาสังการ แห่งฮินดู จากแคว้นเบงกอล พระเจ้าสาสังการได้ทรงรับสั่งให้ตัดต้นและขุดราก ใช้ฟางอ้อยสุม ใช้น้ำมันราด และเผาต้นพระศรีมหาโพธิ์ซึ่งมีอายุราว 871-891 ปี จนล้มตาย 7วันหลังจากนั้น พระเจ้าสาสังการทรงอาเจียนเป็นพระโลหิต และสิ้นชีพตักษัยที่พุทธคยา ซึ่งพระเจ้าปรณวรมาเสด็จมาพอดี จึงตีทัพของเบงกอลแตกพ่ายไป และทรงให้ชาวบ้านรีดนมโค 1,000 ตัว เอาน้ำนมที่ได้เทราดบริเวณต้นโพธิ์ที่ถูกเผา พระเจ้าปรณวรมาทรงนอนคว่ำหน้าลงกับพื้น พร้อมอธิษฐานตามแบบพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งภายหลังต้นพระศรีมหาโพธิ์ก็แตกหน่องอกขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง จึงได้นับหน่อนี้เป็นต้นที่ 3
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ต้นที่ 3 ในปี พ.ศ.2418 นายพลโทเซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม (Sir Alexander Cunningham) ชาวอังกฤษ หัวหน้าคณะสำรวจพุทธสถานในช่วงอังกฤษปกครองประเทศอินเดีย ผู้ค้นพบสถานที่ตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เดินทางไปที่เมืองพุทธคยาเป็นครั้งที่ 2 พบว่า ต้นพระศรีมหาโพธิ์ทรุดโทรมมาก ประชาชนชาวฮินดูในบริเวณนั้นได้ตัดกิ่งก้านไปทำเชื้อเพลิง ครั้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2421-2423 ได้เกิดพายุใหญ่ เป็นเหตุให้ต้นพระศรีมหาโพธิ์เบียดกับพระเจดีย์พุทธคยา กระทั่งหักโค่นล้มลงไปทางทิศตะวันตกและล้มตายไปเอง ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ต้นที่ 3 นี้มีอายุยืนประมาณ 1258-1278 ปี
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ต้นที่ 4 เป็นต้นที่ยังคงยืนต้นอยู่ที่พุทธคยาในปัจจุบัน เป็น 1 ใน 2 หน่อที่แตกขึ้นมาจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ ต้นที่ 3 ที่ ล้มตายไป โดยท่านเซอร์คันนิ่งแฮม ได้บำรุงดูแลหน่อที่เกิดมานั้นเมื่อปี พ.ศ. 2423 และนำอีกหน่อหนึ่งไปปลูกไว้ด้านทิศเหนือของพระเจดีย์ พุทธคยา ห่างจากต้นเดิมประมาณ 50 เมตร ซึ่งปัจจุบัน “ต้นพระศรีมหาโพธิ์” ทั้ง 2 ต้นนี้ยังคงยืนต้นอยู่ มีอายุยืนยาวจวบถึงทุกวันนี้
ขอบคุณข้อมูลจาก wikipedia,www.watthaibuddhagaya935.com
ปัจจุบันต้นพระศรีมหาโพธิ์ทั้งสองต้นยังคงอยู่มีอายุได้ถึงทุกวันนี้ อายุได้ 139-140 ปี ท่านสาธุชนผู้ศรัทธาสามารถเดินทางไปสักการะได้ด้วยตนเอง สายการบินภูฏานแอร์ไลน์ก็เป็นอีกสายการบินที่มีเส้นทาง ”พุทธคยา” บินตรงจากสุวรรณภูมิถึงพุทธคยา โดยใช้เวลาบินเพียง 3 ชั่วโมง 15 นาทีเท่านั้น ท่านก็ได้สักการะต้นพระศรีมหาโพธิ์แล้ว
สำหรับท่านที่สนใจเดินทางตามรอยพระพุทธเจ้า สู่สังเวชนียสถาน สำคัญของพุทธศาสนิกชน โดยสายการบินภูฏานแอร์ไลน์ได้เห็นถึงความสำคัญของพุทธศาสนิกชนชาวไทยจำนวนมาก มีความประสงค์ที่จะเดินทางไปยัง พุทธคยา ประเทศอินเดีย เพื่อเอื้ออำนวยในการเดินทางไปเยือนดินแดนแห่งธรรมะ สายการบินภูฏานแอร์ไลน์จึงได้เปิดเที่ยวบินตรงกรุงเทพ-พุทธคยา ในช่วงเดือนธันวาคม ถึง กุมภาพันธ์ของทุกปี
สายการบินภูฏานแอร์ไลน์ เส้นทาง กรุงเทพ-พุทธคยา (บินตรง)
ตั้งแต่วันที่ 4 ธค 62 - 29 กพ 63 บินเฉพาะวันพุธและวันเสาร์
ราคา 7,890บาท เที่ยวเดียว (ยังไม่รวมภาษี)
ราคา 14,400 บาท ไป-กลับ (รวมภาษี)
สอบถามและสำรองที่นั่ง โทร 02-630-4600
ขอบคุณข้อมูลจาก wikipedia,www.watthaibuddhagaya935.com
ปัจจุบันต้นพระศรีมหาโพธิ์ทั้งสองต้นยังคงอยู่มีอายุได้ถึงทุกวันนี้ อายุได้ 139-140 ปี ท่านสาธุชนผู้ศรัทธาสามารถเดินทางไปสักการะได้ด้วยตนเอง สายการบินภูฏานแอร์ไลน์ก็เป็นอีกสายการบินที่มีเส้นทาง ”พุทธคยา” บินตรงจากสุวรรณภูมิถึงพุทธคยา โดยใช้เวลาบินเพียง 3 ชั่วโมง 15 นาทีเท่านั้น ท่านก็ได้สักการะต้นพระศรีมหาโพธิ์แล้ว
สำหรับท่านที่สนใจเดินทางตามรอยพระพุทธเจ้า สู่สังเวชนียสถาน สำคัญของพุทธศาสนิกชน โดยสายการบินภูฏานแอร์ไลน์ได้เห็นถึงความสำคัญของพุทธศาสนิกชนชาวไทยจำนวนมาก มีความประสงค์ที่จะเดินทางไปยัง พุทธคยา ประเทศอินเดีย เพื่อเอื้ออำนวยในการเดินทางไปเยือนดินแดนแห่งธรรมะ สายการบินภูฏานแอร์ไลน์จึงได้เปิดเที่ยวบินตรงกรุงเทพ-พุทธคยา ในช่วงเดือนธันวาคม ถึง กุมภาพันธ์ของทุกปี
สายการบินภูฏานแอร์ไลน์ เส้นทาง กรุงเทพ-พุทธคยา (บินตรง)
ตั้งแต่วันที่ 4 ธค 62 - 29 กพ 63 บินเฉพาะวันพุธและวันเสาร์
ราคา 7,890บาท เที่ยวเดียว (ยังไม่รวมภาษี)
ราคา 14,400 บาท ไป-กลับ (รวมภาษี)
สอบถามและสำรองที่นั่ง โทร 02-630-4600